เมนู

บทว่า สมฺโมทนียํ อกาสิ ความว่า ให้หญิงนั้นยินยอมแล้ว ได้
กระทำบ้านให้เป็นสถานที่ควรกลับไปอีก.
บทว่า นาลํวนียา มีอรรถว่า ยังไม่หย่าร้างกัน. จริงอยู่ หญิง
ใดอันสามีทิ้งแล้วในชนบทใด ๆ โดยประการโด ๆ ย่อมพ้นภาวะเป็น
ภรรยา, หญิงนี้ท่านเรียกว่า ผู้หย่าร้างกัน. แต่หญิงคนนี้ มิใช่ผู้หย่าร้าง
กัน. นางทะเลาะกันด้วยเหตุบางประการแล้วไปเสีย. ด้วยเหตุนั่นแล ใน
เรื่องทะเลาะกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติ. ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับถุลลัจจัย ในนางยักษิณี เพราะกายสังสัคคะ;
ฉะนั้น แม้ในทุฏฐุลลสิกขาบทเป็นต้นนี้ นางยักษิณีและนางเปรต บัณฑิต
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย เหมือนกัน. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย
ท่านไม่ได้วิจารคำนี้ไว้. คำที่เหลือทุก ๆ เรื่อง มีอรรถกระจ่างทั้งนั้นแล.
สัญจริตตสิกขาบทวรรณนา

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี


[494] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวรัฐอาฬวี สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์
อันตนขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตนเอง ใหญ่ไม่มี
กำหนด กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ เธอต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่